ความอดทน

 
 
 
โทษของความไม่อดทน ๕ ประการ
     โทษ ๕ ประการของความไม่อดทนเหล่านี้ คือ
 
                                           ๑. ไม่เป็นที่รัก…ไม่เป็นที่พอใจของคนมาก
                                           ๒. มากไปด้วยเวร
                                           ๓. มากไปด้วยโทษ                          
                                           ๔. หลง (ขาดสติขณะที่ใกล้ตาย)
                                           ๕. สิ้นชีวิตแล้ว ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต (ความตกต่ำ)และนรก
      
อานิสงส์ของความอดทน ๕ ประการ
     อานิสงส์ของความอดทน ๕ ประการเหล่านี้ คือ
     ๑. เป็นที่รัก…เป็นที่พอใจของคนมาก    
๒. ไม่มากไปด้วยเวร
     ๓. ไม่มากไปด้วยโทษ            
๔. ไม่หลง (มีสติขณะที่ใกล้ตาย)
     ๕. สิ้นชีวิตแล้ว ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
    (ข้อความน่ารู้จาก พระไตรปิฏก—ปัญจกนิบาต  อังคุตตรนิกาย)

 

 

 

หลายคนรู้จักคำว่าอดทนแต่ใช้ไม่เป็น

เข้าใจว่าคำว่าอดทน คือ ฝืนๆ ไป

อันที่จริงแล้วความอดทนนั้น เป็นเรื่องที่เข้าถึงยาก

รู้จักความอดทนและใช้ความอดทนได้นั้นเป็นเรื่องยาก

แต่จะอดทนจนทนเป็นนั้นยากกว่า

ความอับจนไม่เกิดกับผู้ทนเป็น

มนุษย์สามารถมีความอดทนได้ยาวหรือสั้นขึ้นอยู่ที่ใจ

คนอดทนทำอะไรย่อมสำเร็จได้

คนที่อดทนได้ยาวก็จะเป็นคนที่โกรธคนได้ยากด้วย

ความอดทนกับความพยายามเป็นสิ่งที่คู่กัน

การขัดแย้งยุติได้ด้วยขันติ

คนบำเพ็ญธรรมนั้นต้องอดทนในสิ่งที่ผู้อื่นไม่อดทน

นี่เป็นคุณสมบัติประจำตัว

เมื่อพุทธะนั้นมิได้เบื่อเวไนยที่ไม่รู้ตื่น

พูดไม่รู้เรื่อง ฟังไม่เข้าใจ

ท่านเองก็ต้องไม่เบื่อในการที่จะอดทนบำเพ็ญต่อไป

http://www.mindcyber.com/content/data/11/0009-1.html

 

ความอดทน มาจากคำว่า ขันติ หมายถึง การรักษาปกติภาวะของตนไว้ได้ ไม่ว่าจะถูก
กระทบกระทั่งด้วยสิ่งอันเป็นที่พึงปรารถนาหรือ ไม่พึงปรารถนาก็ตาม
มีความมั่นคงหนักแน่น เหมือนแผ่นดิน ซึ่งไม่หวั่นไหว ไม่ว่าจะมีคนเท อะไรลงไป
ของเสีย ของหอม ของสกปรก หรือของดีงามก็ตาม

งานทุกชิ้นในโลกไม่ว่าจะเป็นงาน เล็กงานใหญ่ ที่สำเร็จขึ้นมาได้นอกจากจะอาศัย
ปัญญาเป็นตัวนำแล้ว ล้วนต้องอาศัยคุณธรรมอัน หนึ่งเป็นพื้นฐาน จึงจะสำเร็จได้
คุณธรรมอันนั้น คือ ขันติ

ถ้าขาดขันติเสียแล้ว จะไม่มีงานชิ้นใด เลยสำเร็จได้เลย
เพราะขันติเป็นคุณธรรมสำหรับทั้ง ต่อต้านความท้อถอยหดหู่ ขับเคลื่อนเร่งเร้าให้
เกิดความขยัน และทำให้เห็นอุปสรรคต่าง ๆ เป็นเครื่องท้าทาย ความสามารถ ดังนั้น
อาจกล่าวได้ว่า ความสำเร็จของงานทุกชิ้น ทั้งทางโลกและทางธรรม
คือ อนุสาวรีย์ของขันติทั้งสิ้น

ข้อความนี้ถูกเขียนใน ไม่มีหมวดหมู่ คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

ใส่ความเห็น